09/11/2566
พิมพ์
“นฤมล” ผู้แทนการไทย เผย บ.หัวเว่ย สนใจสนับสนุนนโยบาย Smart Cities เพื่อเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการของภาครัฐ และยินดีสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนา AI เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
“นฤมล” ผู้แทนการไทย เผย บ.หัวเว่ย สนใจสนับสนุนนโยบาย Smart Cities เพื่อเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการของภาครัฐ และยินดีสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนา AI เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะให้เกษตรกรไทย
ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทย ให้การต้อนรับ Mr. David Li, CEO of Huawei Tehnologies (Thailand) Company และ Mr. Edison Xu, Board Director of Public Affair and Communication Department ผู้แทนบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เข้าพบแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสรับตำแหน่ง พร้อมหารือแผนการลงทุน และการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิตอลในไทย
ผู้แทนการค้าไทย เปิดเผยว่า บริษัท หัวเว่ย ให้ความสำคัญกับการลงทุนในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ในหลายๆ โครงการ โดยบริษัทหัวเว่ย เห็นว่าไทยสามารถพัฒนาการใช้งานระบบ AI ในภาครัฐได้ และพร้อมร่วมมือกับหน่วยงานรัฐทั้งด้านภาคเกษตรกรรม และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ บริษัทฯ สนใจสนับสนุนนโยบาย Smart Cities ของไทย เพื่อเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการของภาครัฐ และยินดีสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนา AI เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย โดยเน้นการใช้ภาษาไทยในการคำนวณ ครอบคลุมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวไทยได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการนำเทคโนโลยีของบริษัท หัวเว่ย มาสนับสนุนการเป็น เป็น smart farmer นำองค์ความรู้ถ่ายทอดให้เกษตรกรไทยร่วมกับบริษัท startup ของไทย พร้อมกับเสนอให้ทำเป็น pilot project ในบางพื้นที่ เพื่อง่ายต่อการส่งมอบองค์ความรู้ แล้วค่อยดำเนินการขยายผลในวงกว้างต่อไป
ผู้แทนการค้า กล่าวว่า จากการหารือ ได้ข้อสรุปแนวทางการทำงานร่วมกันเพิ่มเติม ด้วยโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะให้เกษตรกรไทย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและรัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลิตภาพต่อไร่ ซึ่งบริษัท หัวเว่ยมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนการเป็น smart farmers และยินดีจะร่วมทำโครงการต้นแบบกับทางการไทยเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกรไทยร่วมกับบริษัท startups ของไทย โดยจะได้ประสานความร่วมมือไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
“สิ่งที่เห็นตรงกัน คือ ความสำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์ของไทยควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอล ซึ่งบริษัท หัวเว่ย มีพนักงานคนไทยประมาณ 2 พันคน และมีบริษัทไทยที่รับช่วงงานจากบริษัท หัวเว่ย ที่มีพนักงานคนไทยอีกราว 4 พันคน โดยบริษัท หัวเว่ยได้สานต่อแนวทางการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับแรงงานไทยด้าน software และเทคโนโลยีดิจิตอลให้คนไทยมาอย่างต่อเนื่อง และจะดำเนินการให้มากขึ้นต่อไป เพื่อส่งเสริมให้ไทยมีสมรรถนะ และขีดความสามารถด้านการแข่งขันที่สูงขึ้นได้” ผู้แทนการค้า ย้ำ